ประวัติของชาอู่หลง
ประวัติของชาอู่หลงมีต้นกำเนิดอยู่บนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีชื่อว่า “หลอป๋าซาน” ในมณฑลฝูเจี้ยน หรือ มณฑลฮกเกี้ยน ภาษาจีนใช้คำว่า “วูหลงฉา” ซึ่งแปลความหมายได้ว่า “มังกรดำ” ด้วยภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมระหว่างภูเขาและทะเล ทำให้มณฑลฝูเจี้ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง เป็นเหตุให้ชาอู่หลงเป็นชาที่มีรสชาติและมีความหอมมากกว่าชาชนิดอื่น ๆ
ตำนานชามังกรดำ
มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของชาหมักชนิดนี้ว่าเกิดจากการที่นายพลขุนศึกชื่อว่าหลง ผู้มีรูปร่างสูงใหญ่และผิวกายดำคล้ำ จึงถูกชาวบ้านเรียกว่า “อู่หลง” แปลว่า “มังกรดำ” วันหนึ่งในขณะที่อู่หลงกำลังเก็บใบชาใส่ในตะกร้าสะพายหลังของเขา เขาได้เห็นกวางตัวหนึ่ง จึงตัดสินใจไล่ล่ากวางตัวนั้นอยู่นานจนมันกลายเป็นอาหารเย็นของเขา จนวันรุ่งขึ้นเขาถึงนึกได้ว่าเขาลืมเอาใบชาที่เก็บได้ออกมาตาก เมื่ออู่หลงเอาใบชาออกมาดู เขาได้พบว่าใบชาได้เปลี่ยนจากสีเขียวกลายเป็นสีคล้ำขึ้น แต่มันกลับมีกลิ่นหอมขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ หลังจากวันนั้นเขาได้เริ่มทดลองการหมักใบชาในแบบต่างๆ รวมถึงการนำไปคั่วและนวด นี่คือตำนานที่หลายคนเชื่อว่า มันคือจุดเริ่มต้นของชาหมักที่มีชื่อเหมือนกับที่ชาวบ้านเรียกเขา “อู่หลง – มังกรดำ” ที่เราได้รู้จักกันทุกวันนี้
ความสมดุลทางการเมืองและเศรษฐกิจของบราซิลดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายทศวรรษหลังจากนั้น ทำให้บราซิลครอบครองการผลิตกาแฟอันดับ 1 ของโลก การเก็บกักเมล็ดกาแฟไว้หลายปีในช่วงที่ราคาตกถือเป็นเรื่องปกติในเวลานั้น เนื่องจากแนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพของเมล็ดกาแฟยังไม่ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน
กระบวนการผลิตชาอู่หลง
กระบวนการผลิตมีความพิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม การเพาะปลูกและดูแลรักษา สำคัญคือการเก็บเกี่ยวที่ต้องเด็ดด้วยมือเท่านั้น และต้องเป็นยอดบนสุดของใบชา (2 ใบ 1 ยอด) เพื่อรักษาคุณภาพทั้งรสชาติและกลิ่นให้อยู่ในระดับมาตรฐาน จากนั้นจึงนำยอดชามาผึ่งแดดประมาณ 20-40 นาทีให้อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นหอม ก่อนจะนำมาผึ่งลมต่อในที่ร่ม พร้อมเขย่าเพื่อกระตุ้นให้ใบชาตื่นตัว ซึ่งช่วยเร่งกระบวนการหมัก ทำให้น้ำชามีสีเข้มขึ้น และด้วยความที่เป็นชาที่ผ่านการหมักยอดใบชาสดเพียงบางส่วน (ตั้งแต่ 10-80%) ในระหว่างการผลิต ดังนั้นทั้งสี กลิ่น และรสชาติจึงอยู่ระหว่างชาเขียวกับชาดำ ใบชาที่ได้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นเม็ดม้วนกลม เมื่อชงกับน้ำร้อนจึงจะคลายตัวออก
ประวัติของชาอู่หลงในประเทศไทย
ในประเทศไทยนั้นมีประวัติการใช้ชาทางภาคเหนือ มีการค้นพบต้นชาอายุเก่าแก่หลายร้อยปีในแถบเชียงใหม่ เชียงราย และบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับนำชามาทำ “เมี่ยง” เพื่อใช้เคี้ยวกิน (ปรากฏในมังรายศาสตร์และพระอัยการสมัยอยุธยา) แต่สำหรับชาอู่หลงที่เพาะปลูกกันเป็นไร่ในที่ลาดเชิงเขาโดยเฉพาะในแถบดอยแม่สะลองจังหวัดเชียงรายนั้นมีรายงานว่าไม่เกินห้าสิบปีมานี้เท่านั้น
เบอร์ต่าง ๆ ของชาอู่หลงหมายถึงอะไร?
หลายคนเข้าใจว่าเบอร์ต่าง ๆ เหล่านั้นคือการบอกเกรดของใบชา แท้จริงแล้วมันคือตัวเลขที่บ่งบอกชื่อสายพันธ์ที่ถูกพัฒนาเชิงพาณิชย์ในไต้หวัน ต้นกล้าแรกเริ่มที่มีการส่งกล้าพันธุ์จากไต้หวันมาเพื่อมอบให้พี่น้องโดยเกษตรกรชาวแม่สะลองได้รับมอบต้นกล้าพันธุ์ต่าง ๆ ที่ทางไต้หวันได้พัฒนาขึ้นให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและให้ผมผลิตดี เมื่อได้ผลเป็นที่แน่ใจจึงตั้งชื่อเบอร์ไว้เรียกเพื่อความสะดวก
ชาอู่หลงที่ปลูกและผลิตขายในประเทศไทยที่นิยมที่สุดจะมี 3 สายพันธุ์/เบอร์ คือ 12, 17 และ 21
-
- เบอร์ 12 (ชาอู่หลงก้านอ่อน) หรือชาจินเซียนอู่หลง มีกลิ่นหอมคล้าย ๆ น้ำนม
- เบอร์ 17 (ชาอู่หลงก้านอ่อน) ให้รสชาติและกลิ่นอ่อนกว่าเบอร์ 12 ให้สีชาออกเหลือง
- เบอร์ 21 หรือชาอู่หลงสี่ฤดู เป็นชาสายพันธุ์ที่ปลูกยากและให้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง เป็นใบชาที่ผ่านการหมัก (ออกซิไดซ์) น้อยที่สุด ให้น้ำชาสีเขียวอ่อนจึงมีความใกล้เคียงกับชาเขียวมากที่สุดแต่มีคาเฟอีนน้อยกว่า มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยให้รสชาติที่กลมกล่อม พร้อมความหอมคล้ายกลิ่นกล้วยไม้และผลไม้ ดื่มแล้วสดชื่นชุ่มคอ
ประวัติชาอู่หลง เบอร์ 12 และ เบอร์ 17 หรือ อู่หลงก้านอ่อน
ชาอู่หลงมาปลูกในเมืองไทย สมัยนายกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ดอยแม่สลอง เดิมทีมีกองทหารแตกแยกจากจีนเนื่องจากคณะปฏิวัติเมาเซตุงได้มาอาศัยขอลี้ภัยตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยแม่สลอง เรียกว่าทหารกองพล 93 ก๊กหมิ่นตั๋ง ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 จึงมีความประสงค์จะตอบแทนพระคุณของแผ่นดิน ขันอาสาไปปราบผู้ก่อการร้ายเขาค้อที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ทหารก๊กหมิ่นตั๋งเป็นทหารเท้าเปล่า คือไม่ใส่รองเท้า จะปีนเขาเก่งมาก และในที่สุดก็รบเอาชนะยึดเขาค้อคืนมาได้ ด้วยความดีความชอบ จึงได้ขออนุญาตนายกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี นำกล้าใบชาอู่หลงจากไต้หวัน มาปลูกที่ดอยแม่สลอง เหตุที่เหมาะในพื้นที่ภูมิศาสตร์ เปรียบเทียบกับไทยกับเกาะไต้หวัน สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตร อากาศที่ไต้หวันหนาวเย็น และภูมิศาสตร์ที่ดอยแม่สลองสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1200 เมตร และอากาศที่ดอยแม่สลอง ก็มีอากาศหนาวเย็นลักษณะใกล้เคียงกับเกาะไต้หวัน จึงปลูกใบชาได้ดี และประจวบกับมีโครงการพระราชดำริที่จะทำลายต้นฝิ่น และให้ชาวเขามาทำเกษตรกรรมที่ถูกต้อง จึงได้ส่งเสริมให้มีการปลูกชาอู่หลงขึ้น (พลิกพื้นฝิ่น เป็นถิ่นชา) ประมาณ พ.ศ. 2530 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การชงชาอู่หลง
- ใส่ใบชาลงไปในกาหรือถ้วยชาที่มีฝาปิด (ก้ายหว่าน) ในปริมาณ 1/4-1/6 ของกา
- จากนั้นรินน้ำเดือดลงในกาครึ่งหนึ่ง (ควรรินน้ำสูงซักหน่อยเพื่อให้ใบชาตื่นตัวทั่วกัน) แล้วให้เทน้ำทิ้งทันทีเพื่อล้างใบชา
- ขั้นตอนต่อมาให้รินน้ำเดือดลงในกาชาอีกครั้งจนเต็ม แล้วปิดฝากาทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาที
- สามารถชงได้ 6-8 ครั้ง แต่ในการชงครั้งต่อ ๆ ไปให้เพิ่มเวลาเป็น 10-15 วินาทีต่อครั้ง *สามารถทิ้งใบชาแช่น้ำนานขึ้นได้หากชอบชาที่มรสชาติเข้มข้น
หมายเหตุ
-
- ใบชาชงซ้ำได้ภายในวันเดียว (วันต่อวันเท่านั้น)
- การชงชาอู่หลงหมื่นลี้, ชาอู่หลงมะลิ และชาโสม ไม่ควรล้างใบชาก่อนเพราะทำให้กลิ่นและรสชาติหายไป
ประโยชน์ของชาอู่หลง
ชาอู่หลงมีสารเคมีวิเศษที่เรียกว่า “โพลิฟินนอล” ที่มีคุณสมบัติอันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย อาทิเช่น
- ช่วยรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ลดอาการปวดบวมอักเสบ
- ช่วยชะลอวัย
- ช่วยลดการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยเร่งเผาผลาญไขมัน
- ช่วยป้องกันฟันผุและลดโอกาสการเป็นมะเร็งในช่องปาก
เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาธุรกิจออนไลน์ ให้คุณได้พูดคุยกับผู้ผลิตชา (ต้นน้ำ) จากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน
วันเจรจาธุรกิจ: 23 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13:30–15:30 น.
สนับสนุนโครงการโดย Department of Commerce of Fujian Province
นี่คือโอกาสที่คุณจะได้พบปะและพูดคุยกับผู้ผลิตชาคุณภาพสูง มีขื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ
สร้างคอนเน็คชั่นใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของคุณ
พร้อมรับข้อเสนอพิเศษสุด แบบไม่ผ่านคนกลาง เปิดรับสมัครแล้ววันนี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณวรินทร
อีเมล: varintorn.kavin@gmail.com
โทร. 08 8554 1715