แม้รถขายอาหารเคลื่อนที่หรือ “ฟู้ดทรัค  (Food Truck)” จะไม่ใช่เทรนด์ใหม่ แต่ด้วยวิกฤติเศรษฐกิจที่เราต่างต้องเผชิญตั้งแต่ปีที่ผ่านมาการลดค่าใช้จ่ายเป็นทางออกแรก ๆ ที่หลายคนคิดถึง รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่างหรือกฎห้ามนั่งกินในร้าน และในขณะที่อาหารและเครื่องดื่มบางประเภทอาจไม่เหมาะกับการส่งเดลิเวอรี่ ส่งผลให้ธุรกิจขายอาหารแบบเคลื่อนที่เป็นทางเลือกที่ผู้อยากเริ่มต้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มให้ความสนใจกันมากขึ้นในปีที่ผ่านมา เนื่องจากข้อได้เปรียบในเรื่องของทำเลที่สามรถขับให้บริการในแหล่งชุมชนได้ ช่วงเย็นยังสามารถจอดขายตามตลาดนัดต่าง ๆ ได้ หรือออกขายตามงานอีเว้นท์ต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน และยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของการเสิร์ฟอาหารร้อน-เย็นในอุณภูมิที่เหมาะสมถึงมือลูกค้า ซึ่งเป็นข้อด้อยอย่างหนึ่งของการสั่งอาหารเดลิเวอรี่

ในปัจจุบันมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการทางด้านนี้โดยเฉพาะ บางแห่งมีบริการแบบครบวงจร ทั้งบริการการจัดการด้านกฎหมายและติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น บริการการตกแต่งทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งยังมีฟู้ดทรัคทั้งแบบมือหนึ่งและมือสองจำหน่ายหรือให้เช่าแบบรายวัน/รายเดือนอีกด้วย

ส่วนแบรนด์รถยนต์ที่นิยมนำมาดัดแปลงเป็นฟู้ดทรัคในประเทศไทยคือ SUZUKI Carry, KIA, TATA และ WULING


ราคาฟู้ดทรัคและค่าใช้จ่ายที่ควรคำนึงถึง

โดยทั่วไปแล้วก่อนซื้อฟุ้ดทรัคเราควรคำนึงขนาดและประเภทของธุรกิจและเงินลงทุนเป็นอย่างแรก ๆ ว่าคุณต้องการที่จะขายอะไรบ้าง ขายประจำหรือเฉพาะวันหยุด จะจอดขายตามถนนสายใหญ่หรือวิ่งขายตามหมู่บ้าน ควรเลือกขนาดให้เหมาะกับทำเลด้วย ส่วนการเลือกตัวรถควรคำนึงถึงความแข็งแรงทนทาน การประหยัดน้ำมัน โครงสร้างการทำงานไม่ซับซ้อน และง่ายต่อการดูแลรักษา

ภาพจาก Siamauto Event Car

KIA (เกีย) แบบเช่ารายวัน ราคา 6,000 – 6,500 /วัน

KIA (เกีย) แบบเช่ารายวัน ราคา 6,000 – 6,500 /วัน

SUZUKI Carry แบบเช่ารายวัน ราคา 4,000 – 4,500 /วัน

SUZUKI Carry แบบเช่ารายวัน ราคา 4,000 – 4,500 /วัน

การเลือกความสูงของรถไม่ควรต่ำกว่า 180 cm. เพื่อให้คนสามารถยืนได้และไม่สูงกว่า 210 cm. เพื่อให้สามารถรอดผ่านอุโมงค์หรือเพดานที่จอดรถได้

รถใหม่สนนราคาอยู่ที่ 3 แสนต้น ๆ ทั้งนี้ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิเช่น

  • ค่าปูพื้น (ประมาณ 12,000 – 15,000 บาท)
  • หลังคา (ประมาณ 80,000 – 100,000 บาท)
  • เคาน์เตอร์/ตู้คีออส (ประมาณ 12,000 – 15,000 บาท)
  • ค่าระบบไฟฟ้าภายในรถ (ประมาณ 5,000 – 7,000 บาท)
  • ป้ายโฆษณา (ประมาณ 5,000 – 8,000 บาท)
  • ค่าสติกเกอร์โฆษณา (ทั่วคันประมาณ 10,000 – 12,000 บาท)
  • ค่าชุดตกแต่งภายใน (8,000 – 15,000 บาท)
  • อุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่จำเป็น อาทิเช่น ไฟนีออน, สายปลั๊กพาวเวอร์, กล่องควบคุมไฟ และไฟราง เป็นต้น

ส่วนรถมือสองราคาอยู่ที่ประมาณ 3 – 5 แสนบาท แนน่นอนว่าขึ้นอยู่กับสภาพและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มากับรถ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ยังต้องคำนึงถึง เช่น

  • ค่าจดทะเบียนหลังคา (4,000 บาท)
  • ค่าจดทะเบียนสีรถ (3,000 บาท)
  • ค่าประกัน (เครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ ประมาณ 20,000 บาท)

สำหรับท่านใดที่มีรถอยู่แล้วอาจเลือกซื้อรถลากขายของเคลื่อนที่ไว้ใช้งานก็ถือเป็นหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งเราจะมานำเสนอรายละเอียดในคราวหน้า

ชมภาพ Coffee Truck Idea จากที่ต่าง ๆ


ทำเลขายอาหาร-เครื่องดื่มแบบฟู้ดทรัคที่น่าสนใจในกทม.

ไม่พลาดเรื่องราวที่น่าสนใจ ติดตามเราที่ Facebook Fan Page TFBO