90 ปีก่อน เพื่อแสวงหาความรอด ประเทศบราซิลตัดสินใจเผาเมล็ดกาแฟมูลค่าหลายพันล้านปอนด์

ในช่วงเวลาระหว่างปี 1931 ถึง 1944 ประเทศบราซิลได้ทำการเผากาแฟส่งออก 78.2 ล้านถุง นั่นเท่ากับกาแฟ 10.3 พันล้านปอนด์ ซึ่งชาวบราซิลในปัจจุบันที่มีการบริโภคกาแฟมากกว่าสมัยนั้นมากต้องใช้เวลามากถึง 3.7 ปีในการบริโภค

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา กาแฟถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ของชาวบราซิล และมีความสำคัญอย่างยิ่งทางสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขา ดูได้จากการเรียก ว่า “อาหารเช้า” ในภาษาโปรตุเกสบราซิล “Café da Manhã” ซึ่งหมายความว่า “กาแฟในตอนเช้า”

ในเมื่อกาแฟมีความสำคัญต่อชาวบบราซิลลขนาดนี้ แล้วเหตุใดกันที่พวกเขาตัดสินใจเผามัน?


บริบททางประวัติศาสตร์

เพื่อให้เราเข้าใจถึงเหตุผลในการเผาทิ้งกาแฟของชาวบราซิล เราจำเป็นต้องมองกลับไปยังบริบททางประวัติศาสตร์ก่อนการเผากาแฟครั้งแรกจะเกิดขึ้นในปี 1931

ในช่วงทศวรรษที่ 1870 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศบราซิลเริ่มแยกตัวจากระบอบราชาธิปไตย ซึ่งมาพร้อมกับการรัฐประหารในปี 1889 ที่ฝ่ายทหารได้โค่นล้มจักรพรรดิดอม เปโดรที่ 2 สำเร็จอย่างเป็นทางการ ผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่และเจ้าของที่ดินที่ให้ความช่วยเหลือทางการเมืองในครั้งนั้น ต่างแสวงหาค่าชดเชยจากการเลิกทาส ตลอดจนเงินอุดหนุนเพื่อนำผู้อพยพชาวยุโรปเข้ามาเป็นแรงงานในไร่กาแฟของตน ในช่วงการบริหารประเทศของประธานาธิบดีคนที่สอง “Campo Sales” ในปี 1898 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “República do café com leite” หรือ “coffee with milk”

ชื่อนี้ได้มาจากกิจกรรมของรัฐที่มีอำนาจเหนือเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ประเทศบราซิลมีจำนวนประชากรมากที่สุด ซึ่งเจ้าของไร่กาแฟรายใหญ่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง จึงแนะนำให้รัฐบาลให้ส่งเสริมการเพาะปลูกมากขึ้น ให้วงเงินสินเชื่อแก่เจ้าของที่ดิน และสร้างสถาบันเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟ รวมถึงงบประมาณในงานวิจัยและการพาณิชย์สำหรับธุรกิจกาแฟโดยเฉพาะ

ส่งผลให้ในปี ค.ศ. 1906 เกิดการผลิตกาแฟมากเกินความต้องการทำให้ราคากาแฟตกลงอย่างมาก สิ่งนี้กระตุ้นให้ 3 ผู้ว่าการรัฐที่มีการผลิตกาแฟมากที่สุด เข้ามามีส่วนร่วมในความพยายามที่จะประเมินราคากาแฟ โดยใช้เงินกู้ระหว่างประเทศเพื่อซื้อหุ้นกาแฟส่วนเกิน เพื่อทำให้ราคากาแฟในตลาดต่างประเทศมีเสถียรภาพ

ความสมดุลทางการเมืองและเศรษฐกิจของบราซิลดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายทศวรรษหลังจากนั้น ทำให้บราซิลครอบครองการผลิตกาแฟอันดับ 1 ของโลก การเก็บกักเมล็ดกาแฟไว้หลายปีในช่วงที่ราคาตกถือเป็นเรื่องปกติในเวลานั้น เนื่องจากแนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพของเมล็ดกาแฟยังไม่ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน


ปี 1929 เมื่อฝันร้ายมาเยือน

ในปี 1929 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งพึ่งพาการส่งออกกาแฟเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นมูลค่าสินค้าส่งออกกว่า 50% ของบราซิลคือเมล็ดกาแฟ เมื่อเทียบกับ 2.7% ในปัจจุบัน

ณ เวลานั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล และเมื่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตกต่ำ ตามด้วยการสูญเสียของหลายธุรกิจในประเทศ ทำให้การนำเข้าและมูลค่ากาแฟของบราซิลลดลงตามไปด้วยเป็นเวลาหลายปีหลังจากนั้น โดยในช่วงต้นปี 1929 กาแฟหนึ่งกระสอบมีมูลค่า 200,000 Réis แต่ในช่วงสิ้นปีกลับสูญเสียมูลค่าลงถึง 90%

อุบัติการณ์ครั้งนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำประเทศบราซิลเข้าสู่การทำรัฐประหาร ซึ่งโค่นล้มประธานาธิบดีและผู้สืบทอดตำแหน่ง ในปี 1930 และการล่มสลายของ “สาธารณรัฐ café au lait” และเมื่อประธานาธิบดี Getúlio Vargas เข้ายึดอำนาจและได้พยายามที่จะทำลายความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับผู้ปลูกกาแฟรายใหญ่ แต่อิทธิพลของพวกเขายังคงแข็งแกร่งเกินต้าน

อย่างไรก็ตาม ความสมดุลทางเศรษฐกิจและปากท้องประชาชนยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งก่อนการยึดอำนาจ ผู้นำของประเทศบราซิลต่างเชื่อว่าจุดแข็งทางการเกษตรของประเทศคืออุตสาหกรรมกาแฟ โกโก้ ฝ้าย และยาง ซึ่งจะเป็นสายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันสิ้นสุดลงระหว่างคู่ค้าหลักเช่นอเมริกา และประเทศในยุโรป

ทว่าความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความเชื่อนั้นไม่เที่ยงแท้แต่อย่างใด นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกเศรษฐกิจของบราซิลในขณะนั้นว่า “เศรษฐกิจของหวาน” เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่จำเป็นในเวลาเศรษฐกิจฝืดเคือง และต้นทุนการส่งออกก็สูงขึ้น ในขณะประเทศอื่น ๆ เริ่มลงทุนในการผลิตกาแฟของตัวเอง ในขณะเดียวกัน อิทธิพลจากผู้ผลิตในชนบทรายใหญ่หลายทศวรรษในการเมืองของบราซิลก็จบลงด้วยการไม่สร้างแรงจูงใจให้อุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชนบท กล่าวโดยย่อ สินค้าถูกขายเพื่อส่งออกในขณะที่สินค้าที่ผลิตขึ้นจะถูกนำเข้า


มาเผากาแฟทิ้งกันเถอะ!

เมื่อตลาดส่งออกพังทลายลง ทุ่งนาเต็มไปด้วยพืชผลที่ไม่มีใครเก็บและกระสอบกาแฟที่กองซ้อนอยู่เต็มโกดังจากการเก็บเกี่ยวก่อนหน้า แน่นอนว่าราคากาแฟย่อมตกต่ำตามไปด้วย ในขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมยังพึ่งพิงจากเมล็ดกาแฟส่งออก รัฐบาลภายใต้เกทูลิโอจึงเลือกที่จะเพิ่มภาษีศุลกากรและจัดทำงบประมาณเพื่อซื้อกาแฟที่เก็บไว้ – เพื่อนำไปเผา!

ทั้งนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอุสาหกรรมกาแฟเพื่อร่างกฎหมายและดูแลการทำลายเมล็ดกาแฟโดยเฉพาะ โดยในช่วงแรกของการก่อตั้งคณะกรรมการ แนวคิดหลักคือการเร่งทำลายกาแฟคุณภาพต่ำ แล้วจึงทำลายสินค้าคงคลังของกาแฟรุ่นเก่า ทว่าในไม่ช้าแม้แต่เมล็ดกาแฟล็อตใหม่ที่มีคุณภาพก็ถูกทำลายด้วยเช่นกัน

ในทางทฤษฎี การเผากาแฟทิ้งจำนวนมากจะช่วงเพิ่มมูลค่าในตลาดต่างประเทศได้ ด้วยการลดปริมาณสินค้าให้มีน้อยลงเมื่อเทียบกับความต้องการที่คงที่และลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า ซึ่งงบประมาณส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเงินกู้จากต่างชาติ อย่างไรก็ดีการเผาเมล็ดกาแฟจำนวนมากทิ้งในครั้งนั้นไม่ใช่การตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์ ซึ่งนำไปสู่การแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ “Oswaldo Aranha” ในปี 1931 อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีฯ คนใหม่ยังคงเดินหน้าไปกับโครงการเผากาแฟในสต็อก โดยในปีนั้น เมล็ดกาแฟในสต็อกประมาณ 12% ถูกเผาทิ้ง ในปี 1937 เมล็ดกาแฟในสต็อกประจำปีกว่า 70% ถูกเผาทิ้ง โดยเฉลี่ย 27% เมล็ดกาแฟในสต็อกถูกทำลายระหว่างปี 1931 – 44

วัฏจักรการเผากาแฟส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเมืองซานโตส ซึ่งทุกวันนี้เมล็ดกาแฟของบราซิลกว่า 75% ยังคงถูกส่งออกจากเมืองท่าแห่งนี้สู่ตลาดโลก

หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานว่ากลิ่นกาแฟไหม้กระจายตามลมไปทั่วบริเวณและควันกาแฟขนาดมหึมาสามารถมองเห็นได้จากระยะไกลหลายกิโลเมตรจากชายฝั่งของรัฐเซาเปาโลสู่เมืองใกล้เคียง

ทั้งนี้ ด้วยเมล็ดกาแฟที่ส่งไปไปเผามีจำนวนมาก มากจนคนงานเริ่มโยนเมล็ดกาแฟลงทะเลเพื่อลดสต๊อกและเวลาทำงาน หลายคนเชื่อว่าอาจมีคอรัปชั่นและผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นได้ เมื่อมีคนบางกลุ่มเริ่มเก็บกาแฟทะเลจากทะเล ล้างแล้วทำให้แห้ง ก่อนบรรจุถุงขายมันคืออาชญากรรมในฝันร้ายของบราซิล

ต่อมาจึงได้มีการนำเมล็ดกาแฟที่จัดสรรไว้สำหรับการทำลาย ไปทดลองใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงในโรงงานและในการขับเคลื่อนรถจักรไอน้ำ โดยเมล็ดกาแฟ 2,912 กิโลกรัม สามารถเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนรถจักรไอน้ำน้ำหนัก 610 ตัน ได้ 2 ชั่วโมง

อย่างไรก็ดีนักเศรษฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ตลาดสามารถควบคุมราคาเองได้ เพราะเมล็ดกาแฟที่ถูกทำลายทั้งหมดไม่ได้สร้างรายได้จากภาษีส่งออกแม้จะเล็กน้อยก็ตาม ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลบราซิลนั้นมหาศาล ส่วนเกษตรกรแม้จะได้รับเงินช่วยเหลือ แต่หลายคนก็ล้มละลายอยู่ดี เนื่องจากราคายังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลาหลายปี

 

แปลจากบทความของ: โจนัส เฟอร์ราเรสโซ | 22 กันยายน 2564
อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่นี่: https://dailycoffeenews.com/2021/09/22/90-years-ago-seeking-salvation-brazil-burned-billions-of-pounds-of-coffee/