ภาคเหนือของไทย นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องดอยเขา ทุ่งนา และป่าไม้เขียวชอุ่มแล้ว ยังมีวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่งดงาม อาหารการกินก็เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะ “ขนมไทยภาคเหนือ” เหล่าขนมพื้นบ้านที่ไม่เพียงแค่แสนอร่อย แต่ยังแฝงไปด้วยเรื่องราว วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชาวเหนือ
จุดเด่นของขนมไทยภาคเหนือ
ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล: ชาวเหนือนิยมใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล ผลไม้พื้นบ้าน ข้าว และงาดำ ทำให้ขนมมีรสชาติสดใหม่ ปลอดภัย และเข้าถึงง่าย
กรรมวิธีปรุงแบบดั้งเดิม: ขนมส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีการทำแบบดั้งเดิม เน้นความพิถีพิถัน ใช้อุปกรณ์พื้นบ้าน สะท้อนภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานาน
รสชาติหวานน้อย เน้นความกลมกล่อม: ขนมไทยภาคเหนือส่วนใหญ่จะมีรสชาติหวานน้อยกว่าภาคกลาง อาจมีเค็มหรือมันผสมอยู่ด้วย เน้นความกลมกล่อม ทานคู่กับเครื่องดื่มร้อนอย่างชาหรือกาแฟได้อย่างลงตัว
สีสันธรรมชาติ: สีสันของขนมมักมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ดอกอัญชัน ขมิ้น ช่วยเพิ่มสีสันสวยงามโดยไม่ใช้วัตถุแต่งเติม1. ข้าวแคบ: เป็นขนมพื้นบ้านขนมภาคเหนือที่มีหน้าตาและวิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ ทำจากแป้งข้าวเจ้า นำไปตากแดดจนแห้ง แล้วทำให้สุกโดยนำมาปิ้งไฟอ่อนๆ เหลืองพองาม หรือนำมาทอดก็ได้ นิยมกินเป็นอาหารว่าง หรือกินคู่กับน้ำพริก มักทำกินในช่วงงานเทศกาลสำคัญตามท้องถิ่น โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ปัจจุบันข้าวแคบมีขายทั่วไปในท้องตลาดในเขตภาคเหนือ
- ขนมเกลือ: หรือเข้าหนมเกลือ (อ่านว่า เข้าหนมเกื๋อ) บ้างเรียกว่า ขนมขาว เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีแป้งและเกลือ ถ้าชอบหวาน ให้ใส่น้ำตาล ถ้าชอบกะทิ ก็ใส่ไปด้วยก็ได้ หรืออาจโรยงาดำลงไปด้วย นิยมกินเป็นของว่างคู่กับชาและกาแฟ
- ขนมข้าวคลุกงาน หรือ ขนมหนุกงา: เป็นขนมสีดำ ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง คลุกงาขี้ม้อน (งาเม็ดกลมสีน้ำตาลเทา) โขลกกับเกลือ และข้าวนึ่งสุกใหม่ๆ ชาวล้านนานิยมทำข้าวหนุกงา ในช่วงฤดูหนาวเฉพาะในช่วงเช้า ซึ่งช่วงนั้นเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่
- ขนมข้าวแต๋น: ทำจากข้าวเหนียว คลุกกับน้ำแตงโม น้ำกะทิ หรือ น้ำผลไม้อื่น ๆ แล้วขึ้นรูปเป็นแผ่นกลม จากนั้น นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาทอดจนพองกรอบ ราดด้วยน้ำตาลที่ถูกเคี่ยวจนข้นเหนียว ทำให้มีรสชาติหวานหอม กรอบ อร่อย โดยปกติ มักใช้เป็นของว่างในการต้อนรับแขกในงานบุญขนมสีเหลือง
- ขนมข้าววิตู: หรือข้าวเหนียวแดง บ้างเรียก เข้าอี่ทู หรือเข้าหมี่ตู อาหารหวานภาคเหนือ วิธีการทำ นำข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปตั้งไฟผสมกับน้ำอ้อย เมื่อกวนได้ที่แล้วจะนำมาใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วตัดเป็นชิ้นๆ โรยด้วยงาขาว บ้างรับประทานกับมะพร้าวขูดหรือข้าวเหนียวแดง ขนมสีแดง ทำจากข้าวเหนียวแดง น้ำอ้อย และงาขาว นิยมกินคู่กับมะพร้าวขูด
- ขนมวง หรือเข้ามูนข่วย เป็นขนมชนิดหนึ่งของชาวไทใหญ่ ขนมเหนือ เป็นรูปวงกลมมีรูตรงกลางคล้ายกำไลหรือโดนัท ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำและมะพร้าวขูด นำไปคลุกกับงาขาวแล้วต่อให้เป็นวงกลม ทอดในน้ำมันให้สุก พอขนมเย็นลงจึงนำไปชุบน้ำตาลอ้อยให้ทั่ว ชาวไทใหญ่นิยมทำขนมนี้ในงานปอยหรืองานบุญ
ขนมไทยภาคเหนือ ไม่ได้เป็นแค่ของหวาน แต่แฝงไปด้วยเรื่องราว วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่าย ความประณีต และภูมิปัญญาท้องถิ่น
สำหรับผู้ประกอบการที่ขายขนมไทย ขนมหวาน เบเกอรี่ ห้ามพลาดงาน ASEAN Café Show 2024 ที่เปิดโอกาสให้คุณได้พบลูกค้าที่มีคุณภาพนับหมื่นคนในเวลาเพียง 4 วัน อาทิ เจ้าของคาเฟ่ ร้านอาหาร และผู้ที่ชื่นชอบขนมหวานที่จะเข้ามามองหาสินค้าอร่อย ๆ ให้แก่ลูกค้าของเขา
งาน ASEAN Café Show 2024
วันที่: 24-27 ตุลาคม 2567
สถานที่: ฮอลล์ 103-104 ไบเทค กรุงเทพฯ
สนใจจองบูธในราคาพิเศษ ผ่านโครงการ สสว. “SME ปัง! ตังได้คืน” คลิก! https://aseancafeshow.com/
สอบถามเพิ่มเติม หรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ วิศัลย์ศยา คุณ visansaya.kavin@gmail.com, โทร +66 (0) 91-564-1322
#ขนมไทย #ขนมไทยภาคเหนือ #วัฒนธรรมไทย #เทศกาล #ASEANCaféShow2024
Meta Description: เสน่ห์ของขนมไทยภาคเหนือขนมพื้นบ้านแสนอร่อย วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวเหนือ งานอีเว้นท์ขนมหวาน งานอีเว้นท์ของกิน งานอีเว้นท์เบเกอรี่
Meta Description: ค้นพบเอกลักษณ์ของขนมไทยภาคเหนือที่สะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ผ่าน 5 เมนูสุดพิเศษที่ควรลิ้มลอง พร้อมแนะนำงาน ASEAN Café Show 2024 ที่จะรวมผู้ประกอบการขนมไทย ขนมหวาน เบเกอรี่ ไว้ในที่เดียว